เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [22. พาวีสติมวรรค] 9. อปรินิปผันนกถา (226)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะแต่เทียบได้กับผัสสะ ไม่ใช่เวทนาแต่เทียบได้
กับเวทนา ไม่ใช่สัญญาแต่เทียบได้กับสัญญา ไม่ใช่เจตนาแต่เทียบได้กับเจตนา
ไม่ใช่จิตแต่เทียบได้กับจิต ไม่ใช่สัทธาแต่เทียบได้กับสัทธา ไม่ใช่วิริยะแต่เทียบได้
กับวิริยะ ไม่ใช่สติแต่เทียบได้กับสติ ไม่ใช่สมาธิแต่เทียบได้กับสมาธิ ไม่ใช่ปัญญา
แต่เทียบได้กับปัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[916] สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่โทสะแต่เทียบได้กับโทสะ ไม่ใช่โมหะแต่เทียบ
ได้กับโมหะ ไม่ใช่กิเลสแต่เทียบได้กับกิเลสมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะแต่เทียบได้กับผัสสะ ฯลฯ ไม่ใช่ปัญญาแต่
เทียบได้กับปัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิรูปกถา จบ

9. อปรินิปผันนกถา (226)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ(มาจากเหตุ)
[917] สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. รูปไม่ใช่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ไม่ใช่มีความสิ้นไป ไม่ใช่มีความเสื่อมไป ไม่ใช่มีความคลายไป ไม่ใช่มีความดับไป
ไม่ใช่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะและนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. 917/325)
2 เพราะมีความเห็นว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สิ่งเหล่านี้ เรียกว่าสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จมาจากเหตุ
เพราะตั้งอยู่โดยปราศจากการเกิดดับ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สภาวธรรมเหล่านั้นเรียกว่า
สภาวธรรมที่สำเร็จมาจากเหตุ เพราะมีการเกิดดับตามสภาวะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 917/325)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :943 }