เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
สก. นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วนที่ 3
อีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[210] สก. นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วน
ที่ 3 อีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ 2 ประการนี้
ธาตุ 2 ประการ อะไรบ้าง คือ (1) ธาตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (2) ธาตุที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นี้คือ ธาตุ 2 ประการ”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและ
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วนที่ 3 อีก”
[211] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งที่ไม่ถูกปัจจัย และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[212] สก. ขันธ์เป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิ
ใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ขันธ์ นิพพานและบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) 11/352/371

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :93 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
[213] สก. รูปเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูป นิพพาน และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสภาวะที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณ นิพพาน และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[214] สก. บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่
มีความแปรผันปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะ
แห่งสังขตธรรม 3 ประการนี้ คือ (1) ความเกิดขึ้นปรากฏ (2) ความดับ
สลายปรากฏ (3) เมื่อดำรงอยู่ ความแปรผันปรากฏ”1 บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ
มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่มีความแปรผันปรากฏ ดังนั้น บุคคลจึงเป็น
สภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/47/208-209

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :94 }