เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [22. พาวีสติมวรรค] 2. กุสลจิตตกถา (209)
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสมแล้ว
ดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสม
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ละแล้วดำรงอยู่
กำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ทำลายอยู่ก็มิใช่
ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลายแล้วดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลาย
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”
[895] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะปรินิพพานมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะปรินิพพาน ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”

กุสลจิตตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :925 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [22. พาวีสติมวรรค] 3. อาเนญชกถา (210)
3. อาเนญชกถา (210)
ว่าด้วยอาเนญชสมาธิ (จตุตถฌานจิต)
[896] สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในปกติจิต3 ปรินิพพานมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ดำรงอยู่ในปกติจิตปรินิพพาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในกิริยาจิต ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในวิปากจิต ปรินิพพานมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ดำรงอยู่ในวิปากจิต ปรินิพพาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอัพยากตกิริยาจิต ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. 896/319-320)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ปรินิพพานขณะดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ(จตุตถฌานจิต)โดยอ้าง
พระสูตรที่ว่า พระผู้มีพระภาคปรินิพพานขณะอยู่ในอาเนญชสมาธิ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
พระผู้มีพระภาคทรงออกจากอาเนญชสมาธิก่อนแล้วจึงปรินิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. 896/319-320)
3 ปกติจิต ในที่นี้หมายถึงภวังคจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. 896/320)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :926 }