เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [22. พาวีสติมวรรค] 1. ปรินิพพานกถา (208)
22. พาวีสติมวรรค
1. ปรินิพพานกถา (208)
ว่าด้วยปรินิพพาน
[892] สก. พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. พระอรหันต์ละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ อโนตตัปปะบางอย่างยังไม่ได้แล้ว
ปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังมีราคะ ฯลฯ ยังมีกิเลสอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่”
[893] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้ว
ปรินิพพานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 892/319)
2 เพราะมีความเห็นว่า มีพระอรหันต์ที่ปรินิพพานทั้งที่ยังละอวิชชาและวิจิกิจฉาไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ต้องละสังโยชน์ได้ทั้งหมด (อภิ.ปญฺจ.อ. 892/319)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :923 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [22. พาวีสติมวรรค] 2. กุสลจิตตกถา (209)
ปร. พระอรหันต์รู้พุทธวิสัยได้ทั้งหมดใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานจึงมีอยู่
ปรินิพพานกถา จบ

2. กุสลจิตตกถา (209)
ว่าด้วยกุศลจิต
[894] สก. พระอรหันต์ มีจิตเป็นกุศลปรินิพพานใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. พระอรหันต์ยังสร้างสมปุญญาภิสังขาร ฯลฯ อาเนญชาภิสังขาร ฯลฯ
ทำกรรมที่เป็นไปเพื่อคติ ฯลฯ เพื่อภพ ฯลฯ เพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ ฯลฯ
เพื่อความเป็นใหญ่ ฯลฯ เพื่อมีสมบัติมาก ฯลฯ เพื่อมีบริวารมาก ฯลฯ เพื่อ
ความงามในหมู่เทพ ฯลฯ เพื่อความงามในมนุษย์แล้วปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ ไม่สั่งสมอยู่ ฯลฯ ละอยู่ ยึดมั่นอยู่ ฯลฯ กำจัดอยู่
ก่ออยู่ ฯลฯ ทำลายอยู่ ปรับปรุงอยู่ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 894/319)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ เมื่อปรินิพพานก็ปรินิพพานอย่างผู้มีสติ-
สัมปชัญญะ ดังนั้น จึงชื่อว่าปรินิพพานด้วยกุศลจิต (จิตที่เป็นกุศล) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
พระอรหันต์ปรินิพพานด้วยอัพยากตจิต (มหาวิปากจิต) (อภิ.ปญฺจ.อ. 894/319)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :924 }