เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 7. ธัมมกถา (206)
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ 3 อย่าง คือ (1) กองที่ผิด
และแน่นอน (2) กองที่ถูกและแน่นอน (3) กองที่ไม่แน่นอน มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ 3 อย่าง คือ (1)
กองที่ผิดและแน่นอน (2) กองที่ถูกและแน่นอน (3) กองที่ไม่แน่นอน ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
สก. รูปเป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะที่แน่นอน
เพราะมีสภาวะเป็นวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :919 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 8. กัมมกถา (207)
[888] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นรูป
ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสภาวะที่แน่นอน
เพราะมีสภาวะเป็นวิญญาณ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปเป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ
ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นรูป ฯลฯ เป็นเวทนา
ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขารใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น รูปจึงเป็นสภาวะที่แน่นอนโดยอรรถว่าแปรผันไป เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็น
วิญญาณ
ธัมมกถา จบ

8. กัมมกถา (207)
ว่าด้วยกรรม
[889] สก. กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. 889/318)
2 เพราะมีความเห็นว่า กรรมทุกอย่างเป็นสิ่งที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เช่น กรรมที่ให้ผลใน
ปัจจุบันก็ต้องให้ผลในปัจจุบัน ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า กรรมทุกอย่าง
อาจเปลี่ยนแปลง เช่น กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ถ้าไม่ให้ผลก็กลายเป็นอโหสิกรรมได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
889/318)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :920 }