เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 6. สัพพทิสากถา (205)
6. สัพพทิสากถา (205)
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าประทับอยู่ทั่วทุกทิศ
[886] สก. พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทิศทั้งปวงใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ประทับอยู่ในทิศตะวันออกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศตะวันออกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงพระนามว่าอย่างไร มีพระชาติอะไร มี
พระโคตรอะไร พระบิดาและพระมารดาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นมีพระนาม
ว่าอย่างไร คู่พระอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นมีนามว่าอย่างไร
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคนั้นมีนามว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้งทรง
จีวรเช่นไร ทรงบาตรเช่นไร ประทับอยู่ในบ้าน นิคม นคร รัฐ หรือชนบทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทิศใต้ ฯลฯ ทิศตะวันตก ฯลฯ ทิศเหนือ ฯลฯ
ทิศเบื้องล่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องล่างใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 886/317)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้ามีหลายพระองค์ ประทับอยู่ในโลกธาตุทั้งปวงโดยรอบ โลกธาตุละ 1
พระองค์ ในขณะเดียวกัน จึงถือว่ามีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทุกทิศ (อภิ.ปญฺจ.อ. 886/317, ดู องฺ.
เอกก. (แปล) 20/277/34 ประกอบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :917 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 7. ธัมมกถา (206)
สก. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงพระนามว่าอย่างไร ฯลฯ ประทับอยู่ใน
ชนบทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องบนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องบนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ประทับอยู่ในชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ ชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ ชั้นยามา ฯลฯ
ชั้นดุสิต ฯลฯ ชั้นนิมมานรดี ฯลฯ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ ชั้นพรหมโลกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สัพพทิสากถา จบ

7. ธัมมกถา (206)
ว่าด้วยสภาวธรรม
[887] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. 887/317)
2 เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากรูป มีสภาวะเป็นรูปแน่นอน ไม่มีสภาวะเป็นเวทนา เป็นต้น ฉะนั้น ธรรม
ทั้งหลายจึงเป็นสิ่งที่แน่นอนตามสภาวะ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมกับสภาวะของ
ธรรมเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อธรรมไม่แน่นอน สภาวะของธรรมก็ไม่แน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. 887/317)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :918 }