เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 4. อิทธิกถา (203)
4. อิทธิกถา (203)
ว่าด้วยฤทธิ์
[883] สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงมีใบเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือ
พระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงผลิดอกเป็นนิจ ฯลฯ ออกผลเป็นนิจ
ฯลฯ ขอสถานที่แห่งนี้จงสว่างเป็นนิจ ฯลฯ จงเกษมเป็นนิจ ฯลฯ จงมีภิกษา
หาได้ง่ายเป็นนิจ ฯลฯ จงมีฝนดีเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไป” ของพระพุทธเจ้า
หรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 883/315-316)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกสามารถทำอะไรได้ทุกอย่างด้วยอำนาจฤทธิ์ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกไม่สามารถเปลี่ยนธรรมนิยามคือไตรลักษณ์ได้ เช่น
เปลี่ยนสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เป็นสิ่งที่เที่ยงได้ด้วยอำนาจฤทธิ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. 883/315-316)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :914 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 4. อิทธิกถา (203)
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิต
ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว
อย่าดับไป” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “รูปจงเป็นของเที่ยง ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณจงเป็นของเที่ยง” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่าได้
เกิดเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดาอย่าได้แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้ง
หลายผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตาย
เป็นธรรมดาอย่าได้ตายเลย” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรยอมรับอย่างนั้น ฯลฯ
[884] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระ
สาวกมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินมคธ ผู้เป็น
จอมทัพ พระนามว่าพิมพิสารว่า “จงเป็นทอง” และปราสาทก็ได้กลายเป็นทองไป
จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :915 }