เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 3. สัญโญชนกถา (202)
สก. พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังมีราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)
โมหะ(ความหลง) มานะ(ความถือตัว) มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ
(ความตีเสมอ) อุปายาส(ความคร่ำครวญ) กิเลส(สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง) อยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ มานะ มักขะ ปลาสะ อุปายาส
กิเลส มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่”
[882] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้ว
บรรลุอรหัตตผลมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ย่อมรู้พุทธวิสัยได้ทั้งหมดใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลจึงมีอยู่

สัญโญชนกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :913 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 4. อิทธิกถา (203)
4. อิทธิกถา (203)
ว่าด้วยฤทธิ์
[883] สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงมีใบเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือ
พระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงผลิดอกเป็นนิจ ฯลฯ ออกผลเป็นนิจ
ฯลฯ ขอสถานที่แห่งนี้จงสว่างเป็นนิจ ฯลฯ จงเกษมเป็นนิจ ฯลฯ จงมีภิกษา
หาได้ง่ายเป็นนิจ ฯลฯ จงมีฝนดีเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไป” ของพระพุทธเจ้า
หรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 883/315-316)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกสามารถทำอะไรได้ทุกอย่างด้วยอำนาจฤทธิ์ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกไม่สามารถเปลี่ยนธรรมนิยามคือไตรลักษณ์ได้ เช่น
เปลี่ยนสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เป็นสิ่งที่เที่ยงได้ด้วยอำนาจฤทธิ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. 883/315-316)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :914 }