เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 2. อวิวิตตกถา (201)
สก. คำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วยสังกิเลสในกาลก่อน ใน
ภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สาสนกถา จบ

2. อวิวิตตกถา (201)
ว่าด้วยผู้ไม่สงัด
[879] สก. ปุถุชนไม่สงัดจากสภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ 31 ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. ปุถุชนไม่สงัดจากผัสสะที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ เวทนาที่เป็นไปในธาตุ 3
ฯลฯ สัญญาที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ เจตนาที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ จิต
ที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ สัทธาที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ วิริยะที่เป็นไปในธาตุ 3
ฯลฯ สติที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ สมาธิที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ ปัญญาที่เป็นไป
ในธาตุ 3 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ 3 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในขณะที่ถวายจีวร ปุถุชนเข้าปฐมฌานอยู่ ฯลฯ เข้าอากาสานัญ-
จายตนฌานอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 สภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ 3 หมายถึงสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร (อภิ.ปญฺจ.อ.
679/315)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. 879/315)
3 เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ยังละสภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ไม่ได้ ชื่อว่ามีสภาวธรรม 3 ประการนี้
ได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปุถุชนไม่สามารถมีสภาวธรรม 3
ประการได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. 879/315)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :911 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 3. สัญโญชนกถา (202)
สก. ในขณะที่ถวายบิณฑบาต ฯลฯ ถวายเสนาสนะ ฯลฯ ถวายคิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร ปุถุชนเข้าจตุตถฌานอยู่ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[880] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปุถุชนไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ 3”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชนกำหนดรู้กรรมที่ให้เข้าถึงรูปธาตุและอรูปธาตุได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ปุถุชนจึงไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ 3
อวิวิตตกถา จบ

3. สัญโญชนกถา (202)
ว่าด้วยสังโยชน์
[881] สก. พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่
ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. พระโยคีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพพตปรามาส ฯลฯ
ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะบางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุ
อรหัตตผลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 881/315)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ทั้งหลายไม่สามารถรู้พุทธวิสัย (สัพพัญญุตญาณ) ฉะนั้น จึงชื่อว่าละ
อวิชชาและวิจิกิจฉาได้ไม่หมด ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ต้องละ
สังโยชน์ได้ทั้งหมดไม่เกี่ยวกับการรู้และการไม่รู้พุทธวิสัย (อภิ.ปญฺจ.อ. 881/315)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :912 }