เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 1. สาสนกถา (200)
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนของพระตถาคตใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงสติปัฏฐานใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงสัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ
พละ ฯลฯ โพชฌงค์ใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนที่เคยเป็นอกุศลในกาลก่อน ในภายหลัง
ดัดแปลงให้เป็นกุศลได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วย
สังกิเลสในกาลก่อน ในภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนของพระตถาคตดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์
ดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนที่เคยเป็นอกุศลในกาลก่อน ในภายหลังดัดแปลงให้เป็นกุศลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :910 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [21. เอกวีสติมวรรค] 2. อวิวิตตกถา (201)
สก. คำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วยสังกิเลสในกาลก่อน ใน
ภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สาสนกถา จบ

2. อวิวิตตกถา (201)
ว่าด้วยผู้ไม่สงัด
[879] สก. ปุถุชนไม่สงัดจากสภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ 31 ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. ปุถุชนไม่สงัดจากผัสสะที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ เวทนาที่เป็นไปในธาตุ 3
ฯลฯ สัญญาที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ เจตนาที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ จิต
ที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ สัทธาที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ วิริยะที่เป็นไปในธาตุ 3
ฯลฯ สติที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ สมาธิที่เป็นไปในธาตุ 3 ฯลฯ ปัญญาที่เป็นไป
ในธาตุ 3 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ 3 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในขณะที่ถวายจีวร ปุถุชนเข้าปฐมฌานอยู่ ฯลฯ เข้าอากาสานัญ-
จายตนฌานอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 สภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ 3 หมายถึงสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร (อภิ.ปญฺจ.อ.
679/315)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. 879/315)
3 เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ยังละสภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ไม่ได้ ชื่อว่ามีสภาวธรรม 3 ประการนี้
ได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปุถุชนไม่สามารถมีสภาวธรรม 3
ประการได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. 879/315)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :911 }