เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [20. วีสติมวรรค] 5. มัคคกถา (199)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค และสัมมาอาชีวะ
นั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมา-
สมาธิเป็นองค์มรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค
และสัมมาอาชีวะนั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[874] ปร. อริยมรรคมีองค์ 8 ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “กายกรรม วจีกรรม อาชีวะของ
บุคคลนั้นจัดว่าบริสุทธิ์ดีแล้วในเบื้องต้นนั้นแล เมื่อเป็นอย่างนี้อริยมรรคมีองค์ 8 นี้
ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ 5
[875] สก. มรรคมีองค์ 5 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มี
อริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมไม่มีสมณะที่ 1 ย่อมไม่มีสมณะที่ 2 ย่อมไม่มีสมณะที่ 3
ย่อมไม่มีสมณะที่ 42 ในธรรมวินัยที่มีอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมมีสมณะที่ 1 ย่อมมี

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) 14/431/162
2 สมณะที่ 1-2-3-4 หมายถึงพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ตามลำดับ (ที.ม.อ.
214/196)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :904 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [20. วีสติมวรรค] 6. ญาณกถา (199)
สมณะที่ 2 ย่อมมีสมณะที่ 3 ย่อมมีสมณะที่ 4 สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรค
มีองค์ 8 สมณะที่ 1 มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ 2 มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
สมณะที่ 3 มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ 4 ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ
โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ 8
มัคคกถา จบ

6. ญาณกถา (199)
ว่าด้วยญาณ
[876] สก. ญาณที่มีวัตถุ 12 เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. โลกุตตรญาณมี 12 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรญาณมี 12 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติมรรคมี 12 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/214/162
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายอปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 876/313)
3 เพราะมีความเห็นว่า ในมัคคจิตแต่ละดวง มีญาณที่ทำหน้าที่รับรู้ 12 ประการ (ในมัคคจิตหนึ่ง ๆ มี
3 ญาณ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ รวมเป็น 12 ญาณ) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ในมัคคจิตแต่ละดวง มีสัจจญาณอย่างเดียว จึงไม่ยอมรับว่ามี 12 ญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. 876/313)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :905 }