เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [20. วีสติมวรรค] 3. นิรยปาลกถา (196)
สก. ปุถุชนเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ วิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌาน
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ พึงให้ทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต
ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากปุถุชนให้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”
[865] ปร. ญาณของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชนกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาณกถา จบ

3. นิรยปาลกถา (196)
ว่าด้วยนายนิรยบาล
[866] สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. เครื่องสำหรับลงอาญาไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 866/311)
2 เพราะมีความเห็นว่า ในนรก นายนิรยบาลที่เป็นบุคคลไม่มี กรรมของสัตว์นรกนั้นเองเป็นนายนิรยบาล
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มีนายนิรยบาลที่เป็นบุคคลเกิดจากกุศลกรรมและอกุศลกรรม
(อภิ.ปญฺจ.อ. 866/311)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :897 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [20. วีสติมวรรค] 3. นิรยปาลกถา (196)
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในมนุษย์และผู้ลงอาญาก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรกและผู้ลงอาญาก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรก แต่ผู้ลงอาญาไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในมนุษย์ แต่ผู้ลงอาญาไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[867] ปร. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ท้าวเวสสภู1 ท้าวเปตติราช2
ท้าวโสมะไม่ได้ฆ่า ท้าวยมะ
และท้าวเวสวัณก็ไม่ได้ฆ่า
กรรมของตนเองฆ่าบุคคลผู้สิ้นบุญจากโลกนี้
เกิดในปรโลกในนรกนั้น”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงไม่มีในนรก

เชิงอรรถ :
1 คำว่า ท้าวเวสสภู เป็นชื่อของเทพองค์หนึ่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. 867/311)
2 คำว่า ท้าวเปตติราช เป็นเทพผู้มีฤทธิ์มากกว่าเปรตในเปตวิสัย (อภิ.ปญฺจ.อ. 867/311)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :898 }