เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [20. วีสติมวรรค] 2. ญาณกถา (195)
2. ญาณกถา (195)
ว่าด้วยญาณ
[863] สก. ญาณ1 ไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม
ปร.2 ใช่
สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ3 ไม่มีแก่
ปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ
ของปุถุชนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนด
จำเพาะของปุถุชนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”
[864] สก. ญาณไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”

เชิงอรรถ :
1 ญาณ โดยทั่วไปมี 2 อย่าง คือ (1) โลกิยญาณ ได้แก่ ญาณในสมาบัติและกัมมัสสกตาญาณ
(2) โลกุตตรญาณ ได้แก่ มัคคญาณและผลญาณ ในที่นี้ปรวาทีหมายเอาโลกุตตรญาณเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
863/311)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. 863/311)
3 ตั้งแต่คำว่า ปัญญา จนถึง ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ นี้ล้วนเป็นไวพจน์ของญาณทั้งนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
863/311)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :896 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [20. วีสติมวรรค] 3. นิรยปาลกถา (196)
สก. ปุถุชนเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ วิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌาน
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ พึงให้ทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต
ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากปุถุชนให้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”
[865] ปร. ญาณของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชนกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาณกถา จบ

3. นิรยปาลกถา (196)
ว่าด้วยนายนิรยบาล
[866] สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. เครื่องสำหรับลงอาญาไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 866/311)
2 เพราะมีความเห็นว่า ในนรก นายนิรยบาลที่เป็นบุคคลไม่มี กรรมของสัตว์นรกนั้นเองเป็นนายนิรยบาล
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มีนายนิรยบาลที่เป็นบุคคลเกิดจากกุศลกรรมและอกุศลกรรม
(อภิ.ปญฺจ.อ. 866/311)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :897 }