เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [20. วีสติมวรรค] 1. อสัญจิจจกถา (194)
[861] สก. บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม จึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อ
ว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อุบาลี บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้
แตกกันเป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป แก้ไขไม่ได้ มีอยู่ บุคคลผู้ทำลาย
สงฆ์ให้แตกกัน ไม่เป็นผู้เข้าถึงอบาย ไม่เข้าถึงนรกตลอดกัป ไม่ใช่ผู้แก้ไขไม่ได้”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม
ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
[862] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรมจึงทำลาย
สงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีในการแตกกัน
อยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป
พลาดจากนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ
เสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัป
เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน”1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
อสัญจิจจกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 657 หน้า 711 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :895 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [20. วีสติมวรรค] 2. ญาณกถา (195)
2. ญาณกถา (195)
ว่าด้วยญาณ
[863] สก. ญาณ1 ไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม
ปร.2 ใช่
สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ3 ไม่มีแก่
ปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ
ของปุถุชนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนด
จำเพาะของปุถุชนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”
[864] สก. ญาณไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”

เชิงอรรถ :
1 ญาณ โดยทั่วไปมี 2 อย่าง คือ (1) โลกิยญาณ ได้แก่ ญาณในสมาบัติและกัมมัสสกตาญาณ
(2) โลกุตตรญาณ ได้แก่ มัคคญาณและผลญาณ ในที่นี้ปรวาทีหมายเอาโลกุตตรญาณเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
863/311)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. 863/311)
3 ตั้งแต่คำว่า ปัญญา จนถึง ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ นี้ล้วนเป็นไวพจน์ของญาณทั้งนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
863/311)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :896 }