เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [20. วีสติมวรรค] 1. อสัญจิจจกถา (194)
สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[858] สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “บุคคลจงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “บุคคลจงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
[859] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่ามารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตมารดาแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตมารดาแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้
ฆ่ามารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตบิดาแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตบิดาแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา
ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :893 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [20. วีสติมวรรค] 1. อสัญจิจจกถา (194)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตพระอรหันต์แล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตพระอรหันต์แล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคล
ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อ ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “บุคคลผู้ทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม”
[860] สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม จึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :894 }