เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. ปัญญาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[856] สก. อินทรีย์ 5 ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดู
โลกด้วยพุทธจักษุ1 ก็ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา2 น้อย มีธุลีในดวงตามาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้
รู้ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว” 3 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น อินทรีย์ 5 ที่เป็นโลกิยะจึงมีอยู่
อินทริยกถา จบ
เอกูนวีสติมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

1. กิเลสชหนกถา 2. สุญญตากถา
3. สามัญญผลกถา 4. ปัตติกถา
5. ตถตากถา 6. กุสลกถา
7. อัจจันตนิยามกถา 8. อินทริยกถา


เชิงอรรถ :
1 พุทธจักษุ หมายถึง (1) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหลาย คือรู้ว่าสัตว์นั้น ๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหนเพียงไร มีกิเลสมาก กิเลสน้อย
มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ (2) อาสยานุสยญาณ คือปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สถานที่
ที่นอนเนื่องอยู่ (ม.มู.อ. 2/283/87, วิ.อ. 3/9/15) และดูเทียบ ขุ.ป. (แปล) 31/111-115/172-177
2 ดวงตา หมายถึงปัญญาจักษุ (ม.มู.อ. 2/283/87, วิ.อ. 3/9/15)
3 ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 4/9/14, ม.มู. (แปล) 12/283/307-308

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :891 }