เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 8. อินทริยกถา (193)
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี ฯลฯ ชีวิตที่เป็นโลกิยะ
มีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[855] สก. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระก็มีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ปัญญินทรีย์
ที่เป็นโลกุตตระก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่
เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :890 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. ปัญญาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[856] สก. อินทรีย์ 5 ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดู
โลกด้วยพุทธจักษุ1 ก็ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา2 น้อย มีธุลีในดวงตามาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้
รู้ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว” 3 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น อินทรีย์ 5 ที่เป็นโลกิยะจึงมีอยู่
อินทริยกถา จบ
เอกูนวีสติมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

1. กิเลสชหนกถา 2. สุญญตากถา
3. สามัญญผลกถา 4. ปัตติกถา
5. ตถตากถา 6. กุสลกถา
7. อัจจันตนิยามกถา 8. อินทริยกถา


เชิงอรรถ :
1 พุทธจักษุ หมายถึง (1) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหลาย คือรู้ว่าสัตว์นั้น ๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหนเพียงไร มีกิเลสมาก กิเลสน้อย
มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ (2) อาสยานุสยญาณ คือปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สถานที่
ที่นอนเนื่องอยู่ (ม.มู.อ. 2/283/87, วิ.อ. 3/9/15) และดูเทียบ ขุ.ป. (แปล) 31/111-115/172-177
2 ดวงตา หมายถึงปัญญาจักษุ (ม.มู.อ. 2/283/87, วิ.อ. 3/9/15)
3 ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 4/9/14, ม.มู. (แปล) 12/283/307-308

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :891 }