เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 7. อัจจันตนิยามกถา (192)
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ1
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิละสัสสตทิฏฐิได้ด้วยมรรคฝ่าย
อกุศล”
[851] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดยส่วนเดียว เขาจมแล้ว
ครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง”2 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนจึงมีอยู่
[852] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำ
โดยส่วนเดียว เขาจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง”3 จึงยอมรับว่า “ความแน่
นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้โผล่ขึ้นแล้วจมลง”4 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. เขาโผล่ขึ้นแล้วกลับจมลงทุกครั้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูข้อ 848 หน้า 883 ในเล่มนี้ ประกอบ
2-4 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/15/21-22, อภิ.ปุ. (แปล) 36/203/227-228

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :886 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 8. อินทริยกถา (193)
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดยส่วนเดียว
เขาจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง” จึงยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียว
ของปุถุชนจึงมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้เป็นผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป โผล่ขึ้น
แล้วได้ที่พึ่ง” 1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. เขาโผล่ขึ้นแล้วก็ได้ที่พึ่งทุกครั้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัจจันตนิยามกถา จบ

8. อินทริยกถา (193)
ว่าด้วยอินทรีย์
[853] สก. สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/15/21-22, อภิ.ปุ. (แปล) 36/203/227-228
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาทและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 853/309)
3 เพราะมีความเห็นว่า สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาที่เป็นโลกิยะไม่เรียกว่าอินทรีย์ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เรียกว่าอินทรีย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. 853/309)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :887 }