เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 7. อัจจันตนิยามกถา (192)
[848] สก. ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. วิจิกิจฉาไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นไป
ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์
ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :883 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 7. อัจจันตนิยามกถา (192)
สก. มรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ
(แต่ยัง) เป็นอารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากมรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ ฯลฯ (แต่
ยัง) เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วน
เดียวละวิจิกิจฉาได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล”
[849] สก. อุจเฉททิฏฐิ1 พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ2 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอุจเฉททิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. อุจเฉททิฏฐิไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละอุจเฉททิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละอุจเฉททิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) คือเห็นว่าอัตตาและโลกจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป (ที.สี. (แปล)
9/168/146)
2 สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) คือเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป (ที.สี. (แปล)
9/168/146)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :884 }