เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 7. อัจจันตนิยามกถา (192)
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[846] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิพพานธาตุเป็นกุศล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. นิพพานธาตุไม่มีโทษมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากนิพพานธาตุไม่มีโทษ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “นิพพานธาตุ
เป็นกุศล”
กุสลกถา จบ

7. อัจจันตนิยามกถา (192)
ว่าด้วยความแน่นอนโดยส่วนเดียว
[847] สก. ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. บุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ผู้ฆ่าบิดา ฯลฯ ผู้ฆ่า
พระอรหันต์ ฯลฯ ผู้ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ผู้ทำลายสงฆ์
ให้แตกกัน เป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 847/307)
2 เพราะมีความเห็นว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคล ไปเกิดในอบายแล้วไม่สามารถพ้นจากอบายได้ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า แม้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลก็มิได้หมายความว่าจะอยู่ในอบายภูมิตลอดไป
เพียงแต่ต้องอยู่ในอบายนานกว่าผลกรรมอื่น ๆ จึงเรียกว่า นิยตบุคคล (อภิ.ปญฺจ.อ. 847/307)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :882 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 7. อัจจันตนิยามกถา (192)
[848] สก. ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. วิจิกิจฉาไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นไป
ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์
ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :883 }