เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 4. ปัจตติกถา (189)
สก. ที่ต้านทานมี 2 อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง การได้
โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ การได้อรหัตตมรรคเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 9 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 9 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี 9 อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี 9 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[840] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การได้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. การได้เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น การได้จึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

ปัตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :877 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 5. ตถตากถา (190)
5. ตถตากถา (190)
ว่าด้วยความเป็นจริง
[841] สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี 2 อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[842] สก. ความเป็นรูปแห่งรูป ความเป็นรูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ความเป็นรูปแห่งรูปนั้นเป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. 841/306)
2 เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งปวง มีความเป็นจริงอยู่อย่างหนึ่งเรียกว่าสภาวะ
สภาวะนั้นเป็นอสังขตะ (ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งกับสภาวะแห่งธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจัดเป็นสังขตะเช่นเดียวกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. 841/306)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :878 }