เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 2. สุญญตากถา (187)
[833] สก. ความว่างแห่งรูปขันธ์นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในรูปขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในวิญญาณขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งรูปขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในเวทนาขันธ์
ฯลฯ นับเนื่องในสัญญาขันธ์ ฯลฯ นับเนื่องในวิญญาณขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งวิญญาณขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขาร-
ขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[834] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :870 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 3. สามัญญผลกถา (188)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้ว่างจาก
อัตตาหรือจากสิ่งที่นับเนื่องด้วยอัตตา” 1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความว่างจึงนับเนื่องในสังขารขันธ์
สุญญตากถา จบ

3. สามัญญผลกถา (188)
ว่าด้วยผลแห่งความเป็นสมณะ
[835] สก. ผลแห่งความเป็นสมณะ2 เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.3 ใช่4
สก. ผลแห่งความเป็นสมณะ เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น
เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพาน
เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) 14/69/75
2 ผลแห่งความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงวิปากจิตแห่งอริยมรรคในมรรควิถีและในผลสมาบัติ (อภิ.ปญฺจ.อ.
835-836/305)
3 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 835-836/305)
4 เพราะมีความเห็นว่า การละกิเลสและความเกิดขึ้นแห่งผลจิตจัดเป็นผลแห่งความเป็นสมณะ ฉะนั้นจึงเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. 835-836/305)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :871 }