เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 2. สุญญตากถา (187)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ
มาประชุมกันได้”
[831] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต
กิเลสที่เป็นปัจจุบันได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลที่ละกิเลสได้ไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็น
ปัจจุบันได้
กิเลสชหนกถา จบ

2. สุญญตากถา (187)
ว่าด้วยความว่าง
[832] สก. ความว่าง1นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. นิพพานที่ไม่มีนิมิต4ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ความว่าง แปลมาจากศัพท์ว่า “สุญฺตา” ซึ่งมีความหมาย 2 อย่าง คือ (1) อนัตตลักขณะ(ลักษณะ
ที่เป็นอนัตตา)ของขันธ์ทั้งหลาย (2) นิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. 832/304)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 832/304)
3 เพราะมีความเห็นว่า ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์โดยไม่แยก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ความว่างที่เป็นอนัตตลักษณะของขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น จึงจะชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ได้ ส่วนความว่างที่
เป็นนิพพานไม่ชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. 832/304)
4 นิพพานที่ไม่มีนิมิต หมายถึงนิพพานที่ไม่มีนิมิตคือกิเลสทั้งปวง (ขุ.อป.อ. 2/209/172)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :868 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 2. สุญญตากถา (187)
สก. ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง1 นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานที่ไม่มีนิมิต ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่าง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่าง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่าง นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ไม่ใช่ไม่เที่ยง ไม่ใช่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น ไม่ใช่มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสังขารขันธ์ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์”

เชิงอรรถ :
1 นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง หมายถึงนิพพานที่ไม่มีที่ตั้งคือกิเลส (ขุ.อป.อ. 2/209/172)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :869 }