เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 1. กิเลสชหนกถา (186)
สก. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะด้วยโมหะ ละกิเลส ด้วยกิเลส
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะสัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะเป็นอกุศล ส่วนมรรคเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบมาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบมาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกัน
เหลือเกิน 4 อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน 4 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ 1
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/47/77

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :867 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [19. เอกูนวีสติมวรรค] 2. สุญญตากถา (187)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ
มาประชุมกันได้”
[831] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต
กิเลสที่เป็นปัจจุบันได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลที่ละกิเลสได้ไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็น
ปัจจุบันได้
กิเลสชหนกถา จบ

2. สุญญตากถา (187)
ว่าด้วยความว่าง
[832] สก. ความว่าง1นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. นิพพานที่ไม่มีนิมิต4ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ความว่าง แปลมาจากศัพท์ว่า “สุญฺตา” ซึ่งมีความหมาย 2 อย่าง คือ (1) อนัตตลักขณะ(ลักษณะ
ที่เป็นอนัตตา)ของขันธ์ทั้งหลาย (2) นิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. 832/304)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 832/304)
3 เพราะมีความเห็นว่า ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์โดยไม่แยก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ความว่างที่เป็นอนัตตลักษณะของขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น จึงจะชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ได้ ส่วนความว่างที่
เป็นนิพพานไม่ชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. 832/304)
4 นิพพานที่ไม่มีนิมิต หมายถึงนิพพานที่ไม่มีนิมิตคือกิเลสทั้งปวง (ขุ.อป.อ. 2/209/172)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :868 }