เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [18. อัฏฐารสมวรรค] 8. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (184)
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงได้”
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงได้”
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[824] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌานมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :860 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [18. อัฏฐารสมวรรค] 8. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (184)
[825] สก. เสียงพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุ
นั้น ผู้เข้าสมาบัติจึงได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิตกวิจาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ทุติยฌาน
นั้นยังมีวิตกวิจารใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ดังนั้น ผู้เข้า
สมาบัติจึงได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปีติ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ฯลฯ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อจตุตถฌาน ฯลฯ รูปสัญญา ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์
ต่อผู้เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากาสานัญจายตนสัญญา ตรัสว่าเป็น
ปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสัญญา ตรัสว่า
เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสัญญา
ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ สัญญาและ
เวทนา ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ผู้เข้าสัญญาเวทยิต-
นิโรธสมาบัตินั้นยังมีสัญญาและเวทนาอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :861 }