เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [18. อัฏฐารสมวรรค] 7. ฌานันตริกกถา (183)
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[820] สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีอยู่ในระหว่างฌานทั้ง 2 ที่เกิด
ขึ้นเฉพาะหน้าใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌานดับไป ทุติยฌาน
เกิดขึ้นเฉพาะหน้าใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเมื่อสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌานดับไป ทุติยฌาน
เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่า
สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างฌานทั้ง 2 ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า”
[821] ปร. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เป็นปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ
ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร จึงชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
[822] สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :858 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [18. อัฏฐารสมวรรค] 8. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (184)
สก. สมาธิ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ 3 อย่าง คือ (1) สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
(2) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (3) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ 3 อย่าง คือ (1) สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
(2) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (3) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “สมาธิไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน”
ฌานันตริกกถา จบ

8. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (184)
ว่าด้วยผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง
[823] สก. ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ผู้เข้าสมาบัติเห็นรูปทางตา ฯลฯ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก
ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้เข้าสมาบัติเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 823-825/302)
2 เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่เข้าสมาบัติอยู่ บุคคลสามารถได้ยินเสียงด้วยหูธรรมดาได้ โดยอ้างพระ
พุทธพจน์ที่ว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้เข้าฌานไม่สามารถ
ได้ยินเสียงอะไรได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 823-825/302)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :859 }