เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [18. อัฏฐารสมวรรค] 4. คันธชาติกถา (180)
4. คันธชาติกถา (180)
ว่าด้วยคันธชาติ
[809] สก. พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
หอมกว่าคันธชาติอื่น ๆ ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. พระผู้มีพระภาคทรงใช้ของหอมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคเสวยข้าวสุกและขนมกุมมาสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคเสวยข้าวสุกและขนมกุมมาส ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหอมกว่า
คันธชาติอื่น ๆ”
สก. พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหอมกว่า
คันธชาติอื่น ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกที่อาบทา ไล้ทาพระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เก็บไว้ในหีบ บรรจุไว้ในผอบ แผ่ขายที่ตลาดและใช้ของ
หอมนั้นแทนของหอมมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

คันธชาติกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะบางพวกและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 809/299)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระบังคนหนักและพระบังคนเบาของพระพุทธเจ้ามีกลิ่นหอมกว่าคันธชาติอื่น ๆ
ปรวาทีมีความเห็นเช่นนี้ เพราะมีความรักในพระพุทธเจ้าแต่ไม่ได้พิจารณาให้แยบคายจึงเห็นผิด (อภิ.ปญฺจ.อ.
809/299)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :845 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [18. อัฏฐารสมวรรค] 5. เอกมัคคกถา (181)
5. เอกมัคคกถา (181)
ว่าด้วยทางสายเดียว
[810] สก. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล 4 ได้ด้วยอริยมรรค
มรรคเดียวใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 4 ฯลฯ ปัญญา 4 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล 4 ได้ด้วยอริยมรรค
มรรคเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยมรรคไหน
ปร. ด้วยอรหัตตมรรค

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะบางพวกและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 810/299)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงสามารถบรรลุอริยผล 4 ได้ด้วยอริยมรรคเดียว คือ อรหัตตมรรค
เท่านั้น ปรวาทีมีความเห็นเช่นนี้เพราะมีความรักในพระพุทธเจ้า และไม่ได้พิจารณาโดยแยบคาบ จึงเห็นผิด
(อภิ.ปญฺจ.อ. 810/299)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :846 }