เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
สก. นิพพานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำนิพพานจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[185] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ มหาสมุทร ฯลฯ ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ น้ำ ฯลฯ ไฟ
ฯลฯ ลม ฯลฯ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำหญ้า
ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[186] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมกับบุคคลผู้ทำกรรมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[187] ปร. วิบากมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เสวยวิบากมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[188] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[189] สก. บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :84 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากทั้ง 2 ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[190] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยนิพพานจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[191] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ มหาสมุทร ฯลฯ ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ น้ำ ฯลฯ ไฟ
ฯลฯ ลม ฯลฯ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยหญ้า
ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[192] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากเป็นอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เสวยวิบากก็เป็นอย่างหนึ่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ (ย่อ)
กัลยาณวรรค1 ที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า กัลยาณวรรค นี้เป็นชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งของปุริสการานุโยคะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 192/156)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :85 }