เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [17. สัตตรสมวรรค] 8. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา (173)
8. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา (173)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าพระสงฆ์ฉันได้
[795] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. บุคคลบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคู และน้ำปานะมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคู และน้ำปานะมีอยู่
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คณโภชนะ ปรัมปรโภชนะ อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากคณโภชนะ ปรัมปรโภชนะ อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะ
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว
ลิ้มได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำปานะพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ 8 อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำลูกหว้า
น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์ น้ำเหง้าบัว น้ำมะปราง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 795/295)
2 เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าสงฆ์ มรรคและผลเหล่านั้นย่อมฉันอะไร ๆ ไม่ได้ ดังนั้น
จึงไม่ควรกล่าวว่า พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 795/295)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :830 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [17. สัตตรสมวรรค] 9. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (174)
สก. หากน้ำปานะพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ 8 อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำลูกหว้า
น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์ น้ำเหง้าบัว น้ำมะปราง
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้”
[796] ปร. พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มรรคฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ ผลก็ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา จบ

9. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (174)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก
[797] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ฯลฯ
เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวาย
แด่พระสงฆ์มีผลมาก”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 797/295)
2เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้น ชื่อว่าสงฆ์ บุคคลไม่สามารถที่จะให้หรือรับอะไรจากมรรคและ
ผลเหล่านั้น การให้ทานแก่มรรคและผลจึงไม่เกิดอุปการะอะไร ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า ทานที่บุคคล
ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก (อภิ.ปญฺจ.อ. 797-798/295)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :831 }