เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [17. สัตตรสมวรรค] 6. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา (171)
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่มแด่
พระสงฆ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายน้ำดื่มแด่พระสงฆ์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระสงฆ์ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิย่อมรับทักษิณาได้
เหมือนไฟรับการบูชา เหมือนแผ่นดินรับน้ำฝนจากเมฆ”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระสงฆ์จึงรับทักษิณาได้
[792] ปร. พระสงฆ์รับทักษิณาได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มรรครับได้ ผลก็รับได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :827 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [17. สัตตรสมวรรค] 7. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา (172)
7. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา (172)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าพระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจด
[793] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”1 ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมด
จดได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยบุคคล 4 คู่ คือ 8 บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ควร
แก่ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล 4 คู่ คือ 8 บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ให้หมดจดได้ ในที่นี้หมายถึงทำให้มีผลมาก คือ ทำของที่น้อยให้มีผลมาก ทำของที่มากให้มีผลมากยิ่งขึ้น
(อภิ.ปญฺจ.อ. 793-794/294)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 793-794/294)
3 เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าสงฆ์ มรรคและผลเหล่านั้น ไม่สามารถทำทักษิณาให้
หมดจดได้ ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 793-794/294)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :828 }