เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [17. สัตตรสมวรรค] 5. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (170)
5. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (170)
ว่าด้วยการยกเว้นอริยมรรค
[789] สก. ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยสัจมีเพียง 3 อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อริยสัจมีเพียง 3 อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยสัจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ 4 อย่าง คือ (1) ทุกข์ (2) ทุกขสมุทัย
(3) ทุกขนิโรธ (4) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยสัจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ 4 อย่าง คือ (1) ทุกข์ (2)
ทุกขสมุทัย (3) ทุกขนิโรธ (4) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อริยสัจมีเพียง 3 อย่าง เท่านั้น”
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุกวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. 789-790/293)
2 เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากที่อริยมรรค ท่านเรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฉะนั้น อริยมรรค จึง
ไม่ชื่อว่าเป็นทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. 789-790/293)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :824 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [17. สัตตรสมวรรค] 5. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (170)
สก. โดยความหมายว่าอย่างไร
ปร. โดยความหมายว่าไม่เที่ยง
สก. อริยมรรคไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยมรรคเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั่น ฯลฯ
สก. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[790] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อริยมรรคเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทามิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอริยมรรคเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์”

ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :825 }