เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [17. สัตตรสมวรรค] 1. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา (166)
สก. พระอรหันต์ยังสั่งสมอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่สั่งสมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละ ฯลฯ พระอรหันต์ยังยึดมั่น ฯลฯ พระอรหันต์ยัง
กำจัดอยู่ ฯลฯ พระอรหันต์ยังก่ออยู่ ฯลฯ พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ ฯลฯ
พระอรหันต์ยังปรับปรุงอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสมแล้ว
ดำรงอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสม
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ”
สก. พระอรหันต์ละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ละแล้วดำรงอยู่ ...
กำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ... ทำลายอยู่ก็มิใช่
ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลายแล้วดำรงอยู่ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลาย
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ”
[779] ปร. พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ยังให้ทานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ยังให้ทาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์ไม่มี
การสั่งสมบุญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :816 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [17. สัตตรสมวรรค] 2. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา (167)
ปร. พระอรหันต์ยังถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่ม ฯลฯ
ยังไหว้พระเจดีย์ ฯลฯ ยังยกดอกไม้ ฯลฯ ของหอม ฯลฯ เครื่องลูบไล้ขึ้นไว้
บนพระเจดีย์ ฯลฯ ยังทำประทักษิณพระเจดีย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ยังทำประทักษิณพระเจดีย์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบุญ”
อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา จบ

2. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา (167)
ว่าด้วยพระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ
[780] สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ1 ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. ผู้ฆ่าพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้ฆ่าพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 อกาลมรณะ ในที่นี้หมายถึงการปรินิพพานในเวลาอันไม่สมควร
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 780/290)
3 เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์จะต้องเสวยผลกรรมให้หมดก่อนจึงจะปรินิพพานได้ ฉะนั้น จึงไม่มีการ
ปรินิพพานภายในเวลาอันไม่สมควร ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระอรหันต์ก็อาจ
ปรินิพพานในเวลาอันไม่สมควรได้ ถึงแม้ผลกรรมจะยังเหลืออยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. 780/290)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :817 }