เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [16. โสฬสมวรรค] 7. รูปังกุสลากุสลันติกถา (162)
[763] สก. โลภะเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะเป็นอกุศล ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศล
รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้ง
ใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้ง
ใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะเป็นอกุศล ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศล
รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :806 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [16. โสฬสมวรรค] 8. รูปังวิปาโกติกถา (163)
[764] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มีมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี”
รูปังกุสลากุสลันติกถา จบ

8. รูปังวิปาโกติกถา (163)
ว่าด้วยรูปเป็นวิบาก
[765] สก. รูปเป็นวิบากใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. รูปมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ ฯลฯ
สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความ
นึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 765-768/287-288)
2 เพราะมีความเห็นว่า กัมมชรูป(รูปที่เกิดจากกรรม) ก็เรียกว่าวิบากได้ เหมือนกับที่เรียกจิตที่เป็นผลของ
กรรมว่าวิบากจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. 765-768/287-288)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :807 }