เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [16. โสฬสมวรรค] 5. รูปังเหตูติกถา (160)
สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์” 1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงมนสิการรวบยอดได้
อธิคัยหมนสิการกถา จบ

5. รูปังเหตูติกถา (160)
ว่าด้วยรูปเป็นเหตุ
[754] สก. รูปเป็นเหตุใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. อโลภะเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) 25/277-279/118
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 754-756/286-287)
3 เพราะมีความเห็นว่า รูปสามารถเป็นเหตุให้แก่รูปได้ เช่น มหาภูตรูป 4 ชื่อว่าเป็นเหตุให้แก่อุปาทายรูปได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. 754-756/286-287)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :799 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [16. โสฬสมวรรค] 5. รูปังเหตูติกถา (160)
สก. รูปเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นเหตุ”
[755] สก. อโลภะเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :800 }