เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [16. โสฬสมวรรค] 4. อธิคัยหมนสิการกถา (159)
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 3 อย่าง ฯลฯ จิต 3 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[752] สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อม
มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :797 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [16. โสฬสมวรรค] 4. อธิคัยหมนสิการกถา (159)
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็น
อนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็น
อนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 3 อย่าง ฯลฯ จิต 3 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[753] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลมนสิการรวบยอด” ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญา1ว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า

เชิงอรรถ :
1 เห็นด้วยปัญญา หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาปัญญา (ขุ.ธ.อ. 7/56)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :798 }