เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [15. ปัณณรสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปัจจยตากถา 2. อัญญมัญญปัจจยกถา
3. อัทธากถา 4. ขณลยมุหุตตกถา
5. อาสวกถา 6. ชรามรณกถา
7. สัญญาเวทยิตกถา 8. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา
9. ตติยสัญญาเวทยิตกถา 10. อสัญญสัตตูปิกากถา
11. กัมมูปจยกถา

ตติยปัณณาสก์ จบ

รวมวรรคที่มีในตติยปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ 11 เริ่มด้วยติสโสปิอนุสยกถา
วรรคที่ 12 เริ่มด้วยสังวโรกัมมันติกถา
วรรคที่ 13 เริ่มด้วยกัปปัฏฐกถา
วรรคที่ 14 เริ่มด้วยกุสลากุสลปฏิสันทหนกถา
วรรคที่ 15 เริ่มด้วยปัจจยตากถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :786 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [16. โสฬสมวรรค] 1. นิคคหกถา (156)
16. โสฬสมวรรค
1. นิคคหกถา (156)
ว่าด้วยการข่มจิต
[743] สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นว่า “อย่ากำหนัด อย่าขัดเคือง อย่าหลง
อย่าเศร้าหมองได้” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นข่มได้ว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มได้ว่า “เวทนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ สัญญาที่เกิดขึ้น ฯลฯ
เจตนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ จิตที่เกิดขึ้น ฯลฯ สัทธาที่เกิดขึ้น ฯลฯ วิริยะที่เกิดขึ้น ฯลฯ
สติที่เกิดขึ้น ฯลฯ สมาธิที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 743/284)
2 เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่มีความชำนาญในฌานอภิญญาย่อมสามารถข่มจิตของคนอื่นได้ ซึ่งต่างกับความ
เห็นของสกวาทีที่เห็นว่า บุคคลไม่สามารถใช้จิตของตนข่มจิตของคนอื่นได้โดยตรง (อภิ.ปญฺจ.อ. 743/284)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :787 }