เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [15. ปัณณรสมวรรค] 11. กัมมูปจยกถา (155)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้
ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่ง
วจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
เขาครั้นปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
ปรุงแต่งวจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้างแล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียน
บ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคล
ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาถูกผัสสะที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน เหมือน
มนุษย์ เทวดาบางพวก1 และวินิปาติกะ2บางพวก ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล
ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้นเพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูก
ต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เรากล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลแห่งกรรม”3
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละ
อย่างกัน”

กัมมูปจยกถา จบ
ปัณณรสมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
1 เทวดาบางพวก หมายถึงกามาวจรเทวดา 6 ชั้น คือ จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ
ปรนิมมิตวสวัตดี (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/223/440)
2 วินิปาติกะ หมายถึงเวมานิกเปรต ได้แก่ เปรตผู้อยู่ในวิมานเสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรม
เสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมานมีร่างกาย
เป็นทิพย์ สวยงาม แต่เวลาจะเสวยทุกข์ก็ต้องออกจากวิมานนี้ไปและร่างกายกลายเป็นร่างกายที่น่าเกลียด
น่ากลัว (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/223/441)
3 ดูเทียบ ม.ม. (แปล) 13/81/79-81

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :785 }