เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [15. ปัณณรสมวรรค] 10. อสัญญสัตตูปิกากถา (154)
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้ไม่มีจิตมีการเจริญมรรคได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้มีจิตมีการเจริญมรรคได้มิใช่
หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้มีจิตมีการเจริญมรรคได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้”
สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าชนผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติทั้งหมดนั้นเป็นผู้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[736] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึง
ภพแห่งอสัญญสัตว์ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :780 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [15. ปัณณรสมวรรค] 11. กัมมูปจยกถา (155)
ปร. บุคคลไม่มีสัญญาแม้ในโลกนี้ก็เป็นผู้ไม่มีสัญญาแม้ในภพแห่งอสัญญ-
สัตว์นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลไม่มีสัญญาแม้ในโลกนี้ก็เป็นผู้ไม่มีสัญญาแม้ในภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุ
ให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้”
อสัญญสัตตูปิกากถา จบ

11. กัมมูปจยกถา (155)
ว่าด้วยกรรมที่สั่งสม
[737] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ผัสสะกับผัสสะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน เวทนากับเวทนาที่สั่งสมเป็น
คนละอย่างกัน สัญญากับสัญญาที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน เจตนากับเจตนาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน จิตกับจิตที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน สัทธากับสัทธาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน วิริยะกับวิริยะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน สติกับสติที่สั่งสมเป็น
คนละอย่างกัน สมาธิกับสมาธิที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน ปัญญากับปัญญาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน ราคะกับราคะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ อโนตตัปปะกับ
อโนตตัปปะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 737/283)
2 เพราะมีความเห็นว่า กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน กรรมที่สั่งสม วิปปยุตจากจิต เป็น
อัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า กรรมและกรรมที่สั่งสมเป็น
ไวพจน์กัน สัมปยุตด้วยจิต และรับรู้อารมณ์ได้ ต่างกันในเวลาให้ผลเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 737/283)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :781 }