เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [15. ปัณณรสมวรรค] 9. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (153)
สก. ไม่ได้เข้านิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[733] ปร. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่อาจตายใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด
นิยาม นั้นมีอยู่หรือ
สก. ไม่มี
ปร. หากบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่อาจตายแน่นอนด้วย
นิยามใด นิยามนั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติไม่อาจตาย”
[734] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด นิยามนั้น
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. หากบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด
นิยามนั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตาย”

ตติยสัญญาเวทยิตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :778 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [15. ปัณณรสมวรรค] 10. อสัญญสัตตูปิกากถา (154)
10. อสัญญสัตตูปิกากถา (154)
ว่าด้วยสมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์
[735] สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ1เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์2
ได้ใช่ไหม
ปร.3 ใช่
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีกุศลมูลคืออโลภะ อโทสะ อโมหะ
มีสัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีกุศลมูลคืออโลภะ อโทสะ
ฯลฯ ไม่มีปัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีกุศลมูลคืออโลภะ
อโทสะ อโมหะ ไม่มีสัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้”
สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มี 2 อย่าง คือ (1) อสัญญสมาบัติ ซึ่งเป็นเหตุให้ปุถุชนเกิดในภพแห่ง
อสัญญสัตว์ (2) นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติของพระอริยะ ในที่นี้ปรวาทีถือรวม ๆ โดยไม่แยกว่าอสัญญ-
สมาบัติหรือนิโรธสมาบัติ (อภิ.ปญฺจ.อ. 735/282)
2 ภพแห่งอสัญญสัตว์ หมายถึงภพแห่งสัตว์ไม่มีสัญญา ซึ่งเป็นภพหรือภูมิที่นักบวชในลัทธิเดียรถีย์ เป็นต้น
เมื่อเจริญวาโยกสิณจนบรรลุจตุตถฌานแล้วได้เจริญภาวนาบนแนวทางที่เบื่อหน่ายในนามธรรมมีสัญญา
เป็นต้นเป็นนิจ ครั้นละจากอัตภาพนั้นแล้วก็จะไปบังเกิดที่อสัญญสัตตภพอันเป็นภพที่ปราศจากจิต
วิญญาณหรือความรู้สึกใด ๆ (ที.สี.อ. 68-73/108-109)
3 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. 735/282)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :779 }