เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [15. ปัณณรสมวรรค] 1. ปัจจยตากถา (145)
สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย”
[714] สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอม
รับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”
สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
อินทรียปัจจัย”
สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรค ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคค-
ปัจจัย”
[715] สก. สภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา1 ทำอริยธรรมให้หนักแน่นแล้ว
เกิดขึ้นและทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 สภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา หมายถึงกามาวจรกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ 4 มหากิริยาจิตที่
สัมปยุตด้วยญาณ 4 (วิภาวินี. ปริจเฉทที่ 9 ข้อ 59)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :763 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [15. ปัณณรสมวรรค] 2. อัญญมัญญปัจจยกถา (146)
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา ทำอริยธรรมให้หนักแน่นแล้วเกิดขึ้น
และทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่
เป็นเครื่องพิจารณาเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย”
[716] สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลนั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลนั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลนั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลนั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”
สก. สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
นั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
นั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :764 }