เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ปร. ปุถุชน ท่านยอมรับว่า “ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านยอมรับว่า “ปราศจากทิฏฐิ” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ทิฏฐิจึงเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่อง
อปริยาปันนกถา จบ
จุททสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

1. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา 2. สฬายตนุปปัตติกถา
3. อนันตรปัจจยกถา 4. อริยรูปกถา
5. อัญโญอนุสโยติกถา 6. ปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา
7. ปริยาปันนกถา 8. อัพยากตกถา
9. อปริยาปันนกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :760 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [15. ปัณณรสมวรรค] 1. ปัจจยตากถา (145)
15. ปัณณรสมวรรค
1. ปัจจยตากถา (145)
ว่าด้วยความเป็นปัจจัย
[711] สก. ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. วิมังสาเป็นเหตุและเป็นอธิบดีมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาเป็นเหตุและเป็นอธิบดี ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิมังสาเป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย”
สก. ฉันทาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากฉันทาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “ฉันทาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”
[712] สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 711-717/278)
2 เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมเหล่าใดมีเหตุปัจจัย(ชื่อปัจจัยหนึ่งในปัจจัย 24 ดูในคัมภีร์ปัฏฐาน)
สภาวธรรมเหล่านั้นก็ต้องเป็นเหตุปัจจัยเท่านั้น จะเป็นปัจจัยอื่นไม่ได้ กล่าวคือในธรรมหนึ่ง ๆ จะต้องมี
ปัจจยสัตติ(แรงหรือพลังของปัจจัย)เดียวเท่านั้น เกินกว่านั้นไม่มี ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
สภาวธรรมหนึ่งมีปัจจัยได้หลายปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. 711-717/278)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :761 }