เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 9. อปริยาปันนกถา (144)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่
ทิฏฐิ ฯลฯ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความ
ปรารถนา ความตั้งใจและสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมด
นั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์”1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
อัพยากตกถา จบ

9. อปริยาปันนกถา (144)
ว่าด้วยธรรมที่ไม่นับเนื่อง(ในโลกิยะ)
[709] สก. ทิฏฐิเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่องใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. ทิฏฐิเป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อรหัตตผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[710] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่อง” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) 20/306/39
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 709/277-278)
3 เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานเรียกว่าผู้ละกามราคะได้ แต่ไม่เรียกว่าผู้ละทิฏฐิได้ ดังนั้น ทิฏฐิ
จึงไม่นับเนื่องในโลกิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 709/277-278)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :759 }