เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 8. อัพยากตกถา (143)
สก. หากทิฏฐิมีผลมีวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทษทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง”1
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโทษทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “วัจฉะ มิจฉาทิฏฐิแลเป็นอกุศล
สัมมาทิฏฐิเป็นกุศล”2 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) 20/310/41
2 ดูเทียบ ม.ม. (แปล) 13/194/229

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :757 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 8. อัพยากตกถา (143)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุณณะ เรากล่าวว่าคติของคนผู้
เป็นมิจฉาทิฏฐิมี 2 อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
[708] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “วัจฉะ คำว่า โลกเที่ยง นี้เราไม่
พยากรณ์2 คำว่า โลกไม่เที่ยง นี้เราไม่พยากรณ์ คำว่า โลกมีที่สุด ฯลฯ คำว่า
โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ คำว่า ชีวะ3กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ฯลฯ คำว่า ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ คำว่า หลังจากตายแล้วตถาคต4เกิดอีก ฯลฯ คำว่า
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ฯลฯ คำว่า หลังจากตายไป ตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก ฯลฯ คำว่า หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เราไม่พยากรณ์” 5 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ทิฏฐิจึงเป็นอัพยากฤต
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.ม. (แปล) 13/79/76-77
2 คำนี้ แปลมาจากคำว่า อพฺยากต หรือ อพฺยากฺฤต ในภาษาสันสกฤต
3 ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (อภิ.ปญฺจ.อ. 1/1/129), ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล)
24/20/39-41
4 คำว่า ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ใช่
หมายถึงพระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่าหมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. 15/108, ม.ม.อ. 2/122/105)
5 ดูเทียบ ม.ม. (แปล) 13/187-189/219-224

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :758 }