เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 7. ปริยาปันนกถา (142)
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอนเนื่องอยู่ใน
โผฏฐัพพธาตุ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททราคะนอนเนื่องอยู่ในสัททธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องใน
สัททธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะนอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องใน
อรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอนเนื่องอยู่ใน
โผฏฐัพพธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะนอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องใน
อรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[705] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปราคะนอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องใน
รูปธาตุ อรูปราคะนอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กามราคะนอนเนื่องอยู่ในกามธาตุ นับเนื่องในกามธาตุมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :754 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 8. อัพยากตกถา (143)
ปร. หากกามราคะ นอนเนื่องอยู่ในกามธาตุ นับเนื่องในกามธาตุ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปราคะนอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะ
นอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ”
ปริยาปันนกถา จบ

8. อัพยากตกถา (143)
ว่าด้วยอัพยากฤต
[706] สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต1ใช่ไหม
ปร.2 ใช่
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยา เป็นรูป เป็น
นิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า อัพยากฤต มี 2 ความหมาย คือ 1. อัพยากฤตที่มีความหมายว่าไม่ให้ผล ได้แก่ อัพยากฤต 4 อย่าง
คือ (1) วิปากอัพยากฤต (2) กิริยาอัพยากฤต (3) รูปอัพยากฤต (4) นิพพานอัพยากฤต (ตามแนวพระ
อภิธรรม) 2. อัพยากฤตที่มีความหมายว่าไม่พยากรณ์ เช่น การไม่พยากรณ์ว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง เป็นต้น
(ตามแนวพระสูตร) ในที่นี้ปรวาทีใช้คำว่าอัพยากฤต ในความหมายตามแนวพระสูตร ส่วนสกวาทีใช้
ความหมายตามแนวพระอภิธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. 706/277)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 706/277)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :755 }