เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 5. อัญโญอนุสโยติกถา (140)
สก. ภวราคะกับภวราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภวราคานุสัยกับภวราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยกับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชากับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชากับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยกับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[701] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยกับปริยุฏฐานกิเลสเป็นคนละอย่างกัน”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านยอมรับว่า “ถูกปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุม” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยกับปริยุฏฐานกิเลสจึงเป็นคนละอย่างกัน
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :749 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 6. ปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา (141)
ปร. ท่านยอมรับว่า “ถูกปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุม” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ราคะกับปริยุฏฐานกิเลสจึงเป็นคนละอย่างกัน
อัญโญอนุสโยติกถา จบ

6. ปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา (141)
ว่าด้วยปริยุฏฐานกิเลสวิปปยุตจากจิต
[702] สก. ปริยุฏฐานกิเลสวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ปริยุฏฐานกิเลสเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น
โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปริยุฏฐานกิเลสวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล จิตเศร้าหมองไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล จิตเศร้าหมองมีอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล จิตเศร้าหมองมีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ปริยุฏฐานกิเลสวิปปยุตจากจิต”

ปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 702/276)
2 เพราะมีความเห็นว่า ปริยุฏฐานกิเลสวิปปยุตจากจิต ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปริยุฏฐาน-
กิเลสสัมปยุตด้วยจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. 702/276)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :750 }