เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 5. อัญโญอนุสโยติกถา (140)
5. อัญโญอนุสโยติกถา (140)
ว่าด้วยอนุสัยเป็นคนละอย่างกัน(กับปริยุฏฐานกิเลส)
[700] สก. กามราคานุสัยกับกามราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. กามราคะกับกามราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะกับกามราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยกับกามราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆานุสัยกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิฆะกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆะกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิฆานุสัยกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มานานุสัยกับมานปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มานะกับมานปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 700-701/275)
2 เพราะมีความเห็นว่า เมื่อจิตที่เป็นอกุศลหรืออัพยากฤตกำลังเป็นไป ปุถุชนชื่อว่าเป็นผู้มีอนุสัย แต่ไม่มี
ปริยุฏฐานกิเลส ดังนั้น อนุสัยกับปริยุฏฐานกิเลสจึงเป็นคนละอย่างกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. 700-701/275)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :747 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 5. อัญโญอนุสโยติกถา (140)
สก. มานะกับมานปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มานานุสัยกับมานปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐานุสัยกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐิกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐิกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐานุสัยกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉานุสัยกับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉากับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉากับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉานุสัยกับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภวราคานุสัยกับภวราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภวราคะกับภวราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :748 }