เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 8. อสาตราคกถา (133)
สก. หากสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีอย่างยิ่งในสุข บางพวกปรารถนา กระหยิ่ม
แสวงหา ค้นหา เสาะหาสุข ยึดสุข ดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความ
ยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่”
สก. ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ใน
ทุกขเวทนา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่”
[675] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้นสมบูรณ์ด้วยความยินดี
หรือความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นสุขเวทนา ทุกข-
เวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนาก็ตาม เขาย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้น”1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจจึงมีอยู่

อสาตราคกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/409/444-445

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :725 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 9. ธัมมตัณหาอัพยากตาติกถา (134)
9. ธัมมตัณหาอัพยากตาติกถา (134)
ว่าด้วยธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต
[676] สก. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยา เป็นรูป
เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา
เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปตัณหาเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 676/272)
2 เพราะมีความเห็นว่า ตัณหาที่มีความยินดีในกุศลธรรมและในโลกุตตรธรรม เรียกว่าธัมมตัณหา
ธัมมตัณหานี้จัดเป็นอัพยากฤต ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ความยินดีในกุศลธรรมและ
ในโลกุตตรธรรมไม่จัดเป็นตัณหา แต่จัดเป็นฉันทะ ดังนั้น จึงนับเข้าในกุศลเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
676-680/272)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :726 }