เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 6. สัมมุขีภูตกถา (131)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ
มาประชุมกันได้”
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละสังโยชน์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้น เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้
ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้นอาสวะ”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละ
สังโยชน์ได้”
[670] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละสังโยชน์ได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุนั้นเมื่อรู้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิต
ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง ฯลฯ จากอวิชชาสวะบ้าง”2 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์จึงละสังโยชน์ได้

สัมมุขีภูตกถา จบ

เชิงอรรถ :
1-2 ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) 14/19/26

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :721 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 7. สมาปันโนอัสสาเทติกถา (132)
7. สมาปันโนอัสสาเทติกถา (132)
ว่าด้วยผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี
[671] สก. บุคคลผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดีในฌานมีฌานเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ฌานนั้นเป็นอารมณ์ของฌานนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฌานนั้นเป็นอารมณ์ของฌานนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น
จำสัญญานั้นด้วยสัญญานั้น จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น คิดจิตนั้นด้วยจิตนั้น
ตรึกวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น เอิบอิ่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น
ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น รู้ชัดปัญญานั้นด้วยปัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความยินดีในฌานสัมปยุตด้วยจิต ฌานก็สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความยินดีในฌานเป็นอกุศล แต่ฌานเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 671-673/270)
2 เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่เข้าฌานสมาบัติ ตัณหาก็สามารถเกิดได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า ในขณะเข้าฌานสมาบัติกิเลสตัณหาไม่สามารถเกิดได้ ส่วนความยินดีในขณะเข้าฌาน-
สมาบัติ หมายเอาความยินดีที่เกิดขึ้นหลังจากที่เข้าฌานสมาบัติแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. 671-673/270)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :722 }