เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 5. นิวุตกถา (130)
[666] สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลว
และประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน 4 อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน 4 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ 1
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ
มาประชุมกันได้”
สก. บุคคลผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำละนิวรณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์
ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน ควรแก่การใช้งาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้นอาสวะ”2] มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/47/77
2 ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) 14/19/26

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :718 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 6. สัมมุขีภูตกถา (131)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำละนิวรณ์ได้” ฯลฯ
[667] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำละนิวรณ์ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุนั้นเมื่อรู้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิต
ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง ฯลฯ จากอวิชชาสวะบ้าง”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำจึงละนิวรณ์ได้
นิวุตกถา จบ

6. สัมมุขีภูตกถา (131)
ว่าด้วยผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์
[668] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละสังโยชน์ได้ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. บุคคลผู้กำหนัดแล้วละราคะ ผู้ขัดเคืองแล้วละโทสะ ผู้หลงแล้วละโมหะ
ผู้เศร้าหมองแล้วละกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะด้วยโมหะ ละกิเสส
ด้วยกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) 14/19/26
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 668-670/270)
3 เพราะมีความเห็นว่า การละสังโยชน์นั้นจะต้องละในช่วงที่ถูกสังโยชน์ครอบงำเท่านั้น ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า การละสังโยชน์จะต้องละก่อนที่จะถูกสังโยชน์ครอบงำ (อภิ.ปญฺจ.อ. 668-670/270)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :719 }