เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 4. นิยตัสสนิยามกถา (129)
[662] ปร. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาเป็นผู้ใช้ให้ทำกรรมนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาเป็นผู้ใช้ให้ทำกรรมนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้
ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม”
อนันตราปยุตตกถา จบ

4. นิยตัสสนิยามกถา (129)
ว่าด้วยนิยามของบุคคลผู้แน่นอน
[663] สก. บุคคลผู้แน่นอน1ก้าวลงสู่นิยาม2 ได้ใช่ไหม
ปร.3 ใช่4
สก. บุคคลผู้แน่นอนในมิจฉัตตะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ บุคคลผู้แน่นอน
ในสัมมัตตะก็ก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 บุคคลผู้แน่นอน ในที่นี้หมายถึงผู้เป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับเอกังสพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่า จักบรรลุ
โพธิญาณ (ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้) ในอนาคตอย่างแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. 663-664/269)
2 นิยาม ในที่นี้หมายถึงนิยาม 2 อย่าง คือ (1) มิจฉัตตนิยามหรือเรียกว่าอนันตริยกรรม (2) สัมมัตต-
นิยามหรือเรียกว่าอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. 663-664/269)
3 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 663/269)
4 เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์ผู้ได้รับเอกังสพยากรณ์ชื่อว่าเข้าถึงนิยามแล้ว โดยเชื่อว่าการได้รับ
พยากรณ์เช่นนั้นเป็นการก้าวลงสู่นิยามประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การได้รับ
เอกังสพยากรณ์ไม่ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงนิยาม (อภิ.ปญฺจ.อ. 663/269)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :715 }